top of page

สมบัติของเเก๊ส

1. แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามภาชนะที่บรรจุ

2. ถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงปริมาตรได้ ปริมาตรของแก๊สจะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ความดันและจำนวนโมล

3. สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าเมื่ออยู่ในสถานะของเหลวและของแข็งมาก

4. แก๊สสามารถแพร่ได้ และแพร่ได้เร็วเพราะแก็สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของเหลวและของแข็ง
5. แก๊สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนำมาใส่ในภาชนะเดียวกัน แก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วน นั้นคือส่วนผสมของแก๊สเป็นสารเดียว หรือเป็นสารละลาย (Solution)
6. แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส

หน่วยที่ควรรู้จัก 

1. ความดัน (P) 1 atm=1 บรรยากาศ=760 mmHg=76 cmHg

2. ปริมาตร (V) 1 dm3=1 ลิตร=1000 cm3 

3. อุณหภูมิ (T) K=°c + 273 

กฎของบอยล์

 

ตั้งชื่อตามโรเบิร์ต บอยล์ (Robert Boyle) นักเคมีและนักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ มีใจความสำคัญว่า ถ้าอุณหภูมิคงตัว ความดันของแก๊สจะแปรผกผันกับปริมาตรของแก๊สนั้น ๆ ดังนี้

 

กฎของชาร์ล

 

มีใจความดังนี้ “เมื่อมวลและความดันของแก๊สคงที่

ปริมาตรของแก๊สจะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเคลวิน”

ซึ่งจากความสัมพันธ์ จะได้ 

 

กฎของเกย์ ลูสแซก

 

เกย์–ลูสแซกได้ทำการทดลอง โดยให้ปริมาตรของแก๊สคงที่ เพื่อที่จะหาความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับอุณหภูมิ ผลที่ได้คือ ความดันของแก๊สใด ๆ จะแปรผันตรงกับอุณหภูมิเมื่อปริมาตรคงที่ ดังนั้น

กฎรวมแก๊ส (Gas Law)

 

เนื่องจากกฎของบอยล์และชาร์ลกล่าวถึงเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรกับความดัน และปริมาตรกับอุณหภูมิ แต่การเปลี่ยนแปลงในธรรมชาติอาจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันดังนั้นจึงมีการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตร ความดัน และอุณหภูมิของแก๊สในขณะที่มวลคงที่ ดังนี้

กฎเเก๊สสมบูรณ์

กฎการเเพร่ของเกรเเฮม

 

ที่อุณหภูมิเเละความดันเดียวกัน อัตราการเเพร่ผ่านของเเก๊ส

จะเป็นสัดส่วนผกผันกับรากที่สองของความหนาเเน่นของเเก๊ส

หรือ ที่อุณหภูมิเเละความดันเดียวกัน อัตราการเเพร่ผ่านของเเก๊ส

จะเป็นสัดส่วนผกผันกับรากที่สองของมวลโมเลกุล

เขียนเเสดงความสัมพันธ์ได้ดังนี้

วีดีโอที่น่าสนใจ

สอนศาสตร์:ก๊าซ                                                             ของเเข็ง ของเหลว ก๊าซ

© 2014 The Prince Royal's College. Proudly created with Wix.com

bottom of page